5 เหตุผล ทำไมถึงต้องเลือกใช้ชิปประมวลผลแบบ 64 Bits
|เป็นที่ทราบกันดีว่า ชิปประมวลผลแบบ 64 บิทนั้นมีมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว แต่มันอยู่ในวงการของ PC หรือ เดสทอป ซึ่งค่ายดังๆ ที่พวกเรารู้จักกันดีก็มี Intel กับ AMD 2 ค่ายดังที่เป็นคู่กัดกันตลอดการในการผลิดซีพียูสำหรับเดสทอป แต่ในแวดวงของโทรศัพท์มือถือแล้ว ชิปที่รองรับการทำงานแบบ 64 บิทนั้นกลับเพิ่งมีการใช้งานได้ไม่นานนี้เอง อย่างเช่น Tegra K1 Denver, Snapdragon 808 และ Samsung Exynos 6 and Exynos S มาดูกันว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้ชิปประมวณผลแบบ 64 บิทกัน
- ความเร็วและหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มของความเร็วของซีพียู มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การเปลี่ยนจาก 32 บิทมาเป็น 64 บิท ก็ทำให้รองรับหน่วยความจำได้มากขึ้น จากเดิม ซีพียูแบบ 32 บิทจะรองรับหน่วยความจำได้เพียง 4 GB แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นแบบ 64 บิท ก็จะทำให้รองรับได้มากถึง 16 GB เลยทีเดียว ดังนั้นในอนาคต โทรศัพท์มือถือน่าจะมีหน่วยความจำขั้นต่ำ 4 GB ถึงจะทำงานกับระบบ 64 บิทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประมวลผลได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมกับเพิ่มระบบความปลอดภัยมากยิ่ง การเปลี่ยนสถาปัตยกรรมจาก 32 บิทมาเป็น 64 บิท ทำให้สามารถคำนวนตัวเลขได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการคำนวนที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเข้ารหัส-ถอดรหัสก็ทำได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ปลอดภัยจากการโจมจีของแฮกเกอร์ได้ดีมากยิ่งขึ้นนั้นเอง
- ปรมวลผลระบบวิดีโอแบบ 4k ได้อย่างไหลลื่น เนื่องจากว่าซีพียูแบบ 64 บิท สามารถเข้ารหัสถอดรหัสได้ดีกว่าเดิมมาก เป็นผลให้การเล่นไฟล์วิดีโอแบบ 4K ทำได้ดี แม้จะมีหน่วยความจำที่น้อย อีกทั้งยังสามารถจัดการกับระบบ บีบอัดไฟล์ ทำให้งานประมวลผลด้าน เข้ารหัส ถอดรหัส บีบอัดไฟล์ ทำได้ดีกว่าแบบ 32 บิทมาก
- ระบบเกมส์ที่เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งแบบเดียวกับการประมวลผลวิดีโอ เข้ารหัส-ถอดรหัส บีบอัดไฟล์ เพราะการคำนวนตัวเลขได้มากขึ้น จำสามารถประมวลผลการคำนวนในระบบเกมทำได้ดี
- บริโภคพลังงานน้อยลง จากการประชุม Google I/O เกี่ยวกับ Android 5.0 การเปลี่ยนมาใช้ ART (Android Runtime) ทำให้แอพลิเคชั่นสามารถรันได้ทันที ส่งผลให้การทำงานของชิปน้อยลง เป็นผลให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิมนั้นเอง
เป็นที่น่าจับตามองทีเดียวว่าสมาร์ทโฟนเจนเนอเรชั่นถัดไป คงมีความสามารถระดับ ซีพียูบนเดสทอปเลยทีเดียว